ที่มาของกฎหมาย

ที่มาของกฎหมายหรือบ่อเกิดของกฎหมาย หมายถึง รูปแบบการแสดงออกซึ่งกฎหมาย[6]สำหรับกฎหมายไทยซึ่งใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ (civil law) กฎหมายมีที่มา 3 ประการ คือ
1. กฎหมายลายลักษณ์อักษร[7]ได้แก่ กฎหมายที่รัฐได้ตราขึ้นไว้เป็นข้อบังคับกำหนดความประพฤติของบุคคล และประกาศให้ราษฎรทราบ สำหรับประเทศไทย โดยปกติกฎหมายได้ประกาศให้ราษฎรทราบในราชกิจจานุเบกษา
2. จารีตประเพณี หมายถึง ทางปฏิบัติหน้าที่ประพฤติสืบต่อกันมาในสังคมหนึ่ง จนกลุ่มคนในสังคมนั้นมีความรู้สึกร่วมกันว่าจำเป็นต้องปฏิบัติตาม เพราะมีผลผูกพันในฐานะเป็นกฎหมาย[8] จารีตประเพณีสามารถใช้ในฐานะบทสำรอง ถ้าไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรบัญญัติไว้ก็นำมาใช้ได้ทันที ทั้งนี้ ในระบบกฎหมายไทยจารีตประเพณีมีทั้งที่บัญญัติไว้และมิได้บัญญัติไว้ในกฎหมายลายลักษณ์อักษร[9]
3. หลักกฎหมายทั่วไป หมายถึง หลักกฎหมายที่ยอมรับนับถือกันอยู่ทั่วไป ไม่เฉพาะในประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น[10] หลักกฎหมายทั่วไปจึงมีลักษณะกว้างกว่าหลักกฎหมายธรรมดา กว้างกว่าบทบัญญัติกฎหมาย เมื่อหลักกฎหมายทั่วไปเป็นหลักที่กว้างมาก ผู้ที่มีหน้าที่ในการค้นหาหลักกฎหมายทั่วไปก็คือผู้พิพากษาในฐานะศาลซึ่งจะค้นหาจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้บังคับในระบบกฎหมาย[11]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น